Dota2 : Team Secret





สมาชิก Team Secret (Kuroky , S4 , Artizy , Zai , Puppey)
Update: 09/06/2558




สวัสดีน้องๆทุกคนครับ

      บทความนี้ผมจะขอนำทีมชั้นนำในภูมิภาคต่างๆมาแนะนำให้น้องๆทุกคนได้รู้จักบทความละหนึ่งทีม  โดยทีมแรกที่ผมอยากจะนำเสนอ เป็นทีมที่ได้รับฉายาว่าพ่อมดแห่งวงการโดต้า2 นั่นก็คือ Team Secret นั่นเองครับ



      ด้วยการเดินเกมส์ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ชม  ด้วยความแยบยลของการวางแผน หรือด้วยความสามารถเฉพาะตัวของผู้เล่นในทีมทั้ง 5 คน  และไม่ว่าด้วยอะไรก็ตาม ทำให้ปัจจุบัน Team Secret ได้ก้าวขึ้นมาเป็นทีมแนวหน้าของโดต้า2  เรามาดูความเป็นมาของทีมนี้ ว่าก่อนที่เค้าจะก้าวขึ้นมาถึงจุดๆนี้ได้นั้น อดีตเค้าเป็นอย่างไรกันนะครับ

Team Secret เป็นทีมที่ก่อตั้งขึ้นมาหลังจากศึก The International Season 4 หรือที่เราทราบในชื่อของ TI4

ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้เล่นมืออาชีพทีมต่างๆต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องให้มีสไตล์การเล่นเหมาะกับยุคปัจจุบันมากที่สุด  และด้วยเหตุผลเหล่านี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมาชิกของทีมต่างๆครั้งยิ่งใหญ่หลังศึก TI4

ด้วยความคาดหวังในฐานะที่เป็นทีมขวัญใจมหาชน แต่ผลงานของทีม NAVI ที่แสดงให้แฟนได้เห็นใน TI4 นั้นเรียกได้ว่าน่าผิดหวังเป็นอย่างมาก  หลังจากจบศึก TI4 ทีม NAVI จึงประกาศแยกทางกับ Puppey และ Kuroky ผู้เล่นของทีม

ทีมน้องใหม่ Fnatic ก็เป็นอีกทีมหนึ่งที่ทำผลงานได้ไม่ดีเลย ในศึก TI4 เค้าตกรอบตั้งแต่รอบแรก ผลดังกล่าวทำให้ทางสปอนเซอร์ Fnatic ประกาศยุบทีมลงในที่สุด ผู้เล่น Bigdaddy.Notail , Fly.Simba จึงเป็นผู้เล่นไร้สังกัดไปโดยปริยาย

หากพูดถึงทีมคู่รักคู่แค้นของ NAVI คงไม่มีใครไม่รู้จัก Alliance อย่างแน่นอน
ดีกรีเจ้าของแชมป์ TI3 แต่เมื่อถึง TI4 กลับตกรอบแรกไปพร้อมกับทีมน้องใหม่อย่าง Fnatic ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าถึงเวลาที่ทีมต้องมีการเปลี่ยนแปลงแล้วหรือไม่  และนี่ก็คือจุดที่ทำให้ผู้เล่น S4 ตัดสินใจแยกตัวออกมาจากทีมในที่สุดครับ

ในช่วงการก่อตั้ง Team Secret เป็นการรวมตัวกันของผู้เล่นซึ่งอกหักจากศึก TI4  ที่มีอุดมการณ์มุ่งมั่นที่จะสร้างทีมที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง สมาชิกกลุ่มแรกของ Team Secret ได้แก่
1. S4 ตำแหน่ง Midlane Carry
2. Fly.Simba  ตำแหน่ง Hardlane Carry
3. Puppey  ตำแหน่ง Full Support
4. Bigdaddy.Notail ตำแหน่ง Semi Support
5. Kuroky ตำแแหน่ง Hard Carry


ในการรวมตัวกันครั้งนี้ ทำให้วงการโดต้าให้ความสนใจมากๆ และพวกเขาก็แสดงศักยภาพให้ทุกๆได้เห็น ด้วยสถิติการแข่งขันที่เรียกได้ว่ายากจะหาทีมใดเทียบได้ ด้วยสถิติของทีม ชนะ 16 เกมส์ แพ้ 1 เกมส์ รวมทุกรายการ

เมื่อทีมรวมตัวกันได้ระยะเวลาหนึ่ง(ประมาณ 6 เดือน)สมาชิก Team Secret บางคนก็ต้องมีภารกิจอื่นๆที่ทำให้ไม่สามารถอยู่กับทีมได้ Team Secret จึงได้มีการประกาศเปลี่ยนแปลงผู้เล่น ผู้ที่ออกจากทีมได้แก่ Fly.Simba และ Bigdaddy.Notail  ซึ่งผู้ที่เข้ามาแทนก็คือ Zai และ Artizy

การเข้ามาของ Zai และ Artizy เพิ่มความหลากหลายให้กับ Team Secret เป็นอย่างมาก ด้วยทักษะการเล่นของผู้เล่นทั้งสองที่มีทั้งความดุดันและความแยบยลจึงเป็นจุดแข็งใหม่ของ Team Secret

และแน่นอน  เมื่อทีมมีผลงานดี  ผู้ชมทั้งหลายก็จะรวมตัวกันชื่นชม  แต่ก็มีช่วงหนึ่งที่ Team Secret ทำผลงานได้อย่างน่าผิดหวัง  ประเด็นในเวลานั้นต่างพุ่งเป้าไปยังน้องเล็กของทีม Artizy ซึ่งความสามารถในการใช้งานฮีโร่ที่มีจำกัดกลับกลายมาเป็นจุดอ่อนของเขา

ด้วยความเป็นมืออาชีพของ Artizy แทนที่เค้าจะออกมาพูดแก้ตัวต่างๆนานา  แต่เค้ากลับหมั่นฝึกซ้อมฮีโร่เดิมๆซ้ำๆ และหากว่างจากการซ้อมแล้ว เค้าก็ยังแอบเลือกฮีโร่อื่นๆมาฝึกเล่นอีกด้วย ซึ่งผู้เขียนก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบมาคอยดู Artizy สตรีมเกมส์ให้ดูบ่อยมาก

ระยะเวลาจากกระแสวิจารณ์ผ่านไปเพียง 2 เดือน ทุกคนก็ได้เห็นสไตล์การเล่นของ Team Secret นั้นเปลี่ยนไป จากการที่ต้องคอยพึ่งการเดินเกมส์ของ 2 ซัพพอร์ทของทีม ก็คือ Puppey และ Kuroky  เปลี่ยนมาเป็น พวกเค้าทั้ง 5 คน ช่วยกันเดินเกมส์ หาช่องทางชิงความได้เปรียบศัตรูตั้งแต่วินาทีแรกที่เกมส์เริ่มเลยทีเดียว  อีกทั้ง เราจะสังเกตุเห็น Artizy ได้เล่นฮีโร่แปลกๆที่เค้าไม่เคยเล่นอยู่บ่อยครั้ง อาทิเช่น Bristle Back , Gyrocopter , Sniper , Lina , Drow Ranger , Naga Siren , Troll  จากที่เคยเล่นฮีโร่ได้เพียง Shadow Fiend , Lycant , Dead Phophet , Phantom Assasin , Tiny  ทำให้สไตล์การดร๊าฟฮีโร่ของทีมถูกอ่านทางได้ยากขึ้น และสามารถสร้างความลำบากใจให้กับคู่แข่งได้มากเลยทีเดียว

รายชื่อสมาชิก Team Secret (update : 9/6/2558)
1. S4  ความสามารถ Overall Carry (สามารถเล่นแครี่ได้ทุกเลนทั้ง Mid-Carry , Safelane Carry , Offlane Carry  )
2. Artizy ความสามารถ Mid-Carry , Safelane Carry
3. Zai ความสามารถ Overall Carry
4. Puppey ความสามารถ Overall Support (สามารถเล่นฮีโร่ซัพพอร์ทได้ทุกประเภททั้ง Semi-Sup , Full Sup และเล่นได้ทุกตำแหน่ง ทั้ง Jungle หรือ Lane)
5. Kuroky ความสามารถ Overall Carry + Overall Support (สามารถเล่นฮีโร่ได้ทุกสไตล์และทุกหน้าที่ ตามแผนของทีม)


จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น ด้วยสไตล์การดร๊าฟฮีโร่ที่ยากจะเดาได้ การเดินเกมส์ที่สุดจะดุดันแต่แฝงความแยบยล พร้อมจะมีกับดักล่อฝั่งศัตรูให้พลาดพลั้งอยู่เสมอ อีกทั้งยังคอยคิดคอมโบฮีโร่ใหม่ๆ จึงเป็นที่มาของฉายา " พ่อมดแห่งโดต้า2 " ของ Team Secret  นั่นเองครับ

นี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่น้องๆทุกคนที่รักในการเล่นโดต้า2  สามารถนำมาเป็นแรงบันดาลใจ หรือนำมาเป็นไอดอลเพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาทีมของน้องๆได้ครับ

ท้ายนี้ อยากบอกข้อคิดให้น้องๆทราบว่า  " หากต้องการพัฒนาตนเอง  อย่าพยายามหาทางลัดเพราะมันจะเป็นแค่เพียงของฉาบฉวยอยู่กับเราไม่นาน         แต่ การทุ่มเท ฝึกฝน หมั่นศึกษาหาข้อมูล จะเป็นเหมือนพื้นฐานให้น้องๆสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาฝีมือน้องๆได้ในอนาคต   " 




" การฝึกอาวุธก็เช่นกัน เราให้เวลากับมัน เราศึกษามันจนเข้าใจถ่องแท้ว่าอาวุธที่เรากำลังถือนั้นทำอะไรได้บ้าง หากเมื่อถึงเวลาจำเป็นต้องต่อสู้ แม้เราไม่มีอาวุธนั้นอยู่ในมือ เราก็สามารถประยุกต์สิ่งรอบข้างให้เป็นดั่งอาวุธนั้นได้ "





Dota 2 ประเภท หน้าที่ แครี่ (Carry)


สวัสดีครับ




บทความนี้ผู้เขียนจะขอพูดถึงประเภทและหน้าที่ของ Carry แบบคร่าวๆก่อนนะครับ





                       ความหมายของคำว่า " ตัวแครี่(Carry) " ก็คือ ฮีโร่อะไรก็ได้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้สร้างความเสียหายหลักให้ทีม ซึ่งแยกเป็น 3 ประเภทแบ่งตามลักษณะการออกไอเทม(Item Build) ได้แก่



1. ฮีโร่ทีมไฟท์(Teamfight Hero)

                       ด้วยสกิลที่ฮีโร่มี และการออกไอเทมเสริมพลังในการปะทะ ฮีโร่ประเภทนี้จะโดดเด่นเมื่อทำการปะทะด้วยกับทีม ฮีโร่ที่มีลักษณะดังนี้ เช่น Sniper  , Gyrocopter , Void , Kunka , Spectre เป็นต้น
           
                       จะเห็นได้ว่า ฮีโร่ประเภทนี้ ถึงแม้ว่าจะมีพลังในการเข้าปะทะสูงมาก แต่จุดอ่อนอันยิ่งใหญ่ก็คือ ฮีโร่เหล่านี้จะไม่ค่อยมีสกิลในการเอาตัวรอด จึงต้องมีการปกป้องจากเพื่อนร่วมทีมค่อนข้างสูงและต้องออกไอเทมเอาตัวรอดให้กับตนเอง เช่น Shadow Blade , Blink Dagger หรือแม้แต่ Force Staff เป็นต้น

                       แนวคิดในการออกไอเทมของฮีโร่ประเภทนี้ ก็มักจะมี ไอเทมเอาตัวรอด 1 ชิ้น และที่เหลือจะเป็นไอเทมที่เสริมความสามารถในการทำความเสียหายให้กับทีม



ตัวอย่างฮีโร่ทีมไฟท์และไอเทมที่นิยม






Shadow Blade



Mjorrnir




Manta Style




Mask of Madness







2. ฮีโร่แกงค์(Gank Hero)


                      ด้วยความสามารถด้านสกิลที่สนับสนุนในการปะทะได้เปรียบแบบตัวต่อตัว หรือสามารถไล่ต้อนฮีโร่ฝ่ายศัตรูที่กำลังหนีได้ดี  ทำให้ฮีโร่แกงค์มีความสามารถในการเร่งความเสียหายในช่วงแรกของการปะทะเพื่อชิงความได้เปรียบในการปะทะมาได้
     
                      จุดเด่นของฮีโร่ประเภทนี้ก็คือ มักจะมีสกิลเร่งความเสียหายซึ่งจะทำให้การปะทะได้เปรียบ ฮีโร่ประเภทนี้ ได้แก่ Nyx Assasin , Bounty Hunter , Blood Seeker , Clink เป็นต้น

                      จุดอ่อนของฮีโร่แกงค์ก็คือ ฮีโร่แกงค์จะไม่สามารถแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่หากฝั่งศัตรูอยู่กันเป็นกลุ่ม 

                      ไอเทมที่ฮีโร่สายแกงค์มักจะสร้าง ได้แก่ Shadow Blade , Dagon , Eul's Scepter of Divinity , Scythe of Vyse เป็นต้นครับ



ตัวอย่างฮีโร่สายแกงค์และไอเทมที่นิยม




 Dagon





Shadow Blade




Eul's Scepter of Divinity







3. ฮีโร่ตอดสิ่งปลูกสร้าง (RAT Hero)


                      ด้วยฮีโร่ที่มีสกิลในการเอาตัวรอดสูง เคลื่อนไหวไปมาได้รวดเร็ว ทำให้ผู้เล่นจับฮีโร่ประเภทนี้มาทำเป็นสาย RAT

                      RAT Hero ในที่นี้หมายถึงฮีโร่ที่มีหน้าที่คอยตอดสิ่งปลูกสร้างศัตรู ดันแต่ละเลนอย่างรวดเร็วคล้ายๆกับหนูที่วิ่งไปวิ่งมาเพื่อตอดขนม  ทำให้ทีมศัตรูต้องพะวงเรื่องการป้องกันมากเป็นพิเศษ เพราะถ้าเผลอให้กับฮีโร่สายนี้เมื่อไหร่ รับรองได้เลยครับว่าสิ่งปลูกสร้างหายอย่างไว  ฮีโร่ประเภทนี้ ได้แก่ Brood Mother , Lycan , Antimage , Nature Phophet , Tinker เป็นต้นครับ

                       จุดอ่อนของฮีโร่ประเภทนี้ คือเค้าจะไม่ค่อยเก่งถ้าเจอการปะทะแบบทีม  ด้วยสกิลที่ส่วนใหญ่เป็นสกิลเอาตัวรอดและสกิลที่สร้างความเสียหายกับสิ่งที่ไม่ใช่ฮีโร่ศัตรูเป็นหลักแล้ว ทำให้เรามักจะไม่เห็นฮีโร่ประเภทนี้อยู่ในการปะทะของทีมเท่าไหร่นัก แม้ว่าจะเป็นช่วงท้ายเกมส์แล้วก็ตาม

                      ไอเทมที่ผู้เล่นสาย Rat Hero นิยมสร้าง ได้แก่ Mjorrnir ,  Manta Style , Necronomicon , Desolator เป็นต้นครับ



ตัวอย่างฮีโร่RATและไอเทมที่นิยม




Desolator




Manta Style



Mjorrnir




Necronomicon



Scythe of Vyse




Shadow Blade









 ฮีโร่สไตล์ต่างๆข้างต้นเป็นเพียงหลักการเบื้องต้นนะครับ  อย่างที่ผู้เขียนกล่าวอยู่บ่อยๆว่า  ใน Dota 2 ไม่มีอะไรที่ตายตัวแน่แท้  เราสามารถเลือกฮีโร่ใดก็ได้ เพื่อทำหน้าที่ใดก็ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับรูปเกมส์และแผนของทีมครับ





และนี่ คือ เสน่ห์ของเกมส์ Dota 2 ครับผม ขอให้น้องๆทุกคน โชคดีมีความสุขกับการเล่นเกมส์ครับ






                   

Dota 2 การเล่นแบบทีม Team Work





สวัสดีครับ !


                     บทความที่แล้วผมได้กล่าวถึง " หน้าที่ของตัวซัพพอร์ท(Support) " แบบคร่าวๆแล้ว  ซึ่งจะเห็นได้ว่า ยังเหลือหน้าที่ของอีก 2 ตำแหน่งสำคัญ ก็คือ ตัวแทงค์(Tanky) และ ตัวแครี่(Carry)  ทางผู้เขียนขอยกยอดในฉบับต่อๆไปนะครับ



บทความนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเรื่อง " ทีมเวิร์ค(Team Work) " หรือ การเล่นกันเป็นรูปแบบของทีม



                     เนื่องจากเกมส์ Dota2 เป็นเกมส์ที่ต้องอาศัยกำลังของผู้เล่นหลายๆคน ซึ่งแน่นอนเลยว่า ผู้เล่นหรือเพลเยอร์หนึ่งคนก็จะมีทัศนะและการมองรูปเกมส์แบบหนึ่ง เมื่ออยู่รวมกัน 5 ผู้เล่นก็ย่อมมีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย ทั้งเรื่องของการมองรูปเกมส์ที่แตกต่างกัน  จังหวะของแต่ละคนไม่สอดคล้องกัน สไตล์การเดินเกมส์ และเรื่องอื่นๆอีกมากมายครับ



คำถามที่น้องๆหลายท่านอยากรู้ก็คือ ... เราจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ได้อย่างไร ?




วิธีแก้ปัญหา(จากประสบการณ์การเล่นเกมส์ของผู้เขียนเองนะครับ)



1. ปรับแก้ทัศนคติ

                   เนื่องจาก Dota2 เป็นเกมส์ที่เล่นกันหลายคน แน่นอนครับว่าแต่ละคนก็จะมีพื้นฐานความคิดที่แตกต่างกัน เมื่อคนที่มีความคิดที่แตกต่างกันมาอยู่รวมกัน สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นก็คือความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนของตนเอง อธิบายง่ายๆก็คือ " การเอาความคิดของตนเองถูกต้องที่สุด "
                                       
                  ดังนั้น การที่เราจะสร้างทีม(ไม่ว่าเป็นทีมเฉพาะกิจเพื่อเล่นเกมส์ๆนั้น หรือ สร้างทีมเพื่อต้องการไปแข่งขัน) สิ่งแรกที่เราควรทำก็คือ การพูดคุยกันเกี่ยวกับทัศนคติการมองเกมส์ ตำแหน่งการเล่นที่ถนัด สไตล์การเดินเกมส์ของแต่ละคนให้พอทราบคร่าวๆก่อน ทั้งนี้ เพราะการพูดคุยกันจะทำให้เราทราบถึงสไตล์การเล่นคร่าวๆของแต่ละคน  หากความคิดเห็นไม่ตรงกัน  จะได้ทำการพูดคุยปรับแก้ไขในเบื้องต้นได้ครับ


2. ลดความอคติของคนในทีม
               
                    สิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นทีมไหนก็คือความมีอคติต่อผู้เล่นอื่นภายในทีม เราจะสังเกตเห็นได้ว่าในบางเกมส์ที่เราเสียเปรียบจะมีผู้เล่นชอบบ่นโน่น บ่นนั่น โทษนี่ หรือชอบบ่นในสิ่งที่ไม่สามารถแก้ไขในเกมส์ได้ เช่น บ่นถึงข้อผิดพลาดของเพื่อนตอนต้นเกมส์ว่าถ้าไม่มีจังหวะพลาดจังหวะนั้น ทีมก็จะไม่แพ้หรอก การย้ำจุดเดิมๆนี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในเกมส์ๆนั้น อีกทั้งยังเป็นการทำให้เพื่อนร่วมทีมเสียสมาธิในการเล่น ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพของทีมลดต่ำลงในที่สุด
                 
                     การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดก็คงหนีไม่พ้น การเล่นด้วยกันบ่อยๆ และแต่ละครั้งที่เล่นก็ต้องชวนกันมานั่งดูรีเพลย์ของเกมส์ที่ผ่านมา คุยกันถึงจุดผิดพลาด วิธีแก้ไข เพื่อผู้เล่นแต่ละคนจะได้นำประสบการณ์เหล่านั้นมาพัฒนาการเล่นในเกมส์ต่อๆไป


3. สื่อสารกันในเกมส์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

                     ในแต่ละเกมส์ที่เล่นกัน เกมส์ไหนที่มีการสื่อสารกันมาก มักจะทำให้สมาชิกในทีมเล่นได้ง่ายมากขึ้น  ทั้งนี้ การสื่อสารควรจะเป็นการพูดถึงการให้ข้อมูลตำแหน่งศัตรู ไอเทมที่ศัตรูมีในเวลานั้นๆ  ไอเทมที่สมาชิกในทีมที่กำลังจะทำ รวมถึงการบอกแผนการเข้าทำในแต่ละครั้งก่อนจะทำการปะทะศัตรู การสื่อสารหากผู้เล่นกระทำอย่างสม่ำเสมอก็จะติดเป็นนิสัย และจะเป็นจุดดีของผู้เล่นไปตลอดไม่ว่าจะได้ร่วมทีมกับใครก็ตาม                          


4. หมั่นฝึกฝน

                     สมาชิกในทีมควรหมั่นหาเวลาฝึกฝนตนเอง อาจโดยการเล่นคนเดียว(Solo play) หรือหาสมาชิกมาเล่นเป็นเพื่อนสัก 2-3 คน การเล่นเดี่ยวจะทำให้เราทราบถึงข้อดี ข้อเสียของตัวเรา อีกทั้งยังทราบถึงความนิยมของผู้เล่นที่หลากหลายอีกด้วย และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือเรื่องของเวลา ซึ่งมักจะมีเวลาที่อยู่ครบ 5 คนนั้นค่อนข้างจำกัด

                     การหมั่นฝึกฝนตนเองอยู่เสมอจะทำให้เรามีฝีมือที่ดีขึ้น เข้าใจความเป็นไปของเกมส์ได้มากขึ้น  เมื่อเข้าร่วมกับทีม ความแข็งแกร่งของทีมก็จะเพิ่มขึ้นครับ


5. พักผ่อนอย่างเพียงพอ

                    " การพักผ่อนอย่างเพียงพอ " ก็สำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นๆเช่นกันครับ ในเวลาที่ร่างกายและจิตใจของเราพร้อม เราจะสามารถแสดงศักยภาพของเราได้อย่างเต็มที่เช่นเดียวกันครับ


6.  หมั่นหาความรู้เพิ่มเติม

                     การที่ได้นั่งดูการแข่งขันทัวว์นาเมนท์ระดับสากลพร้อมสมาชิกคนอื่นๆในทีม จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ให้กับทีม  เพิ่มแผนการเล่นดีๆ สไตล์การออกไอเทมสมัยใหม่ของแต่ละฮีโร่ และยังช่วยเพิ่มความสนิทสนมในทีมอีกด้วยครับ




*ไม่ใช่แค่เกมส์เมอร์ไทยอย่างเดียวนะครับ ในทุกๆเซิร์ฟ ไม่ว่าจะเป็น เซิร์ฟจีน อเมริกา หรือแม้กระทั่งต้นตำรับโดต้าอย่างยุโรปตะวันออกเองต่างก็เจอปัญหาผู้เล่นเอาความคิดของตนเองเป็นใหญ่อยู่เสมอๆ*


ผู้จัดทำขอขอบพระคุณผู้อ่านทุกท่าน หวังว่าเนื้อหานี้จะเป็นเป็นประโยชน์ให้กับน้องๆทุกท่านนะครับ 

สังคมเกมส์ที่ดีอยู่ไม่ไกล เพียงแค่เริ่มที่ตัวเรา ให้รู้หน้าที่ ให้มีวินัยในการเล่น และเข้าใจผู้เล่นอื่นๆ เท่านี้ น้องๆก็จะได้สัมผัสการเล่นที่ดีแน่นอนครับ



Dota 2 การเลือกฮีโร่

สวัสดีเพื่อนๆทุกคนครับ

                  หลายๆท่านที่เข้ามาอ่านบทความนี้ ผมแน่ใจครับว่าท่านรู้จักเกมส์ โดต้า2 (Dota2) อย่างแน่นอน
          ด้วยความคาดหวัง(ลึกๆ)จากผู้เขียน อยากเห็นเกมส์เมอร์ไทยไประดับโลกดังเช่นประเทศเพื่อนบ้านที่ หากใครที่เป็นนักชมการแข่งขันเกมส์ทัวว์นาเมนท์คงจะทราบดีว่า ประเทศเพื่อนบ้านเรา เช่น มาเลเซีย มีทีมที่อยู่ในระดับแนวหน้าของโดต้าเอเชียและเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ผมก็เลยแอบหวังไว้ว่าสักวันจะได้เห็นทีมจากประเทศไทยก้าวไกลสู่เวทีสากลที่ยิ่งใหญ่อีกครั้ง เหมือนกับที่เมื่อหลายปีก่อน ทีม MiTH.Trust ของเราเคยทำให้คนทั้งโลกได้รู้จักในการแข่งขัน The International season 1 หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ TI1 ครับ

          ผู้อ่านหลายๆท่านมักจะมีคำถามว่า  เราควรจะเลือกฮีโร่อะไรดีให้เหมาะกับทีม ?  


เรามาเรียนรู้ประเภทของฮีโร่ในเกมส์ Dota 2  กันครับ

          จากประสบการณ์การเล่น Dota 2 ของผู้เขียน และประสบการณ์การชมเกมส์ทัวว์นาเมนท์สากลที่ผ่านๆมา  ผู้เขียนขอแยกประเภทของฮีโร่เป็น 3 ประเภท หลักๆ ได้แก่

1. แครี่ (carry)

          ลักษณะของฮีโร่ประเภทนี้ในทีม คือ จะมีหน้าที่เป็นตัวคอยสร้างความเสียหายให้กับฮีโร่ หรือสิ่งปลูกสร้างของฝั่งตรงข้าม ฮีโร่ประเภทนี้ เช่น Tiny , Antimage , Phantom Assasin , Outworld Destroyer เป็นต้น

2. ซัพพอร์ท (support)
       
           ในทีมซัพพอร์ทจะมีหน้าที่หลักๆคือ ทำยังไงก็ได้ให้แครี่ฝั่งเราเก็บเงินสบายที่สุด ซึ่งแนวคิดนี้ รวมไปถึงการเดินเกมส์กดดันฝั่งตรงข้ามให้เล่นได้ยากด้วย  ฮีโร่ประเภทนี้ เช่น Lion , Rubick , Shadow Shaman , Crytal Maiden เป็นต้น

3. แทงค์ (tanky) 

           หน้าที่ของตัวแทงค์ในทีม ก็เป็นอะไรที่ง่ายๆครับ คือ เข้าไปรับสกิล หรือความเสียหายแทนเพื่อนในช่วงแรก เพื่อให้ชิงจังหวะความได้เปรียบเมื่อเป็นจังหวะที่เพื่อนจะเข้าปะทะ  ซึ่งในหน้าที่อันง่ายดายนี้ ในความเป็นจริงกลับไม่ง่ายเลย  กลับเป็นหน้าที่ของผู้เล่นที่มีประสบการณ์สูงมักจะเลือกเล่นกัน  เพราะ หากตัวแทงค์สามารถเข้าไปปั่นป่วนทีมตรงข้ามให้เสียจังหวะการใช้สกิลได้มากเท่าไหร่  ความได้เปรียบก็จะเป็นของทีมเราได้มากเท่านั้นครับ   ซึ่งฮีโร่ที่ใช้เล่นสายนี้ มักได้แก่  Axe , Tide Hunter , Magnus เป็นต้นครับ



                       *ข้อมูลข้างต้น เป็นการแบ่งชนิดตามประเภทของหน้าที่ในทีมแบบทั่วๆไปครับ แต่ในสถานการณ์จริง  เราสามารถเลือกฮีโร่ตัวใดก็ได้ให้ทำหน้าที่ใดก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมของรูปเกมส์   ในหลายๆเกมส์ในการแข่งทัวว์นาเมนท์  เรามักจะเห็นฮีโร่แปลกๆทำหน้าที่แปลกๆ เช่น ผู้เขียนเคยเห็นทีม Secret  ใช้ Venomancer เป็นแครี่ , ทีม Malaysia  ใช้ฮีโร่ Earthshaker เล่น solo midlane และเป็นแครี่ของทีมอีกด้วย และยังมีอีกหลายๆรูปแบบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากประสบการณ์และการวางแผนของแต่ละทีม ที่เค้าต้องการให้รูปเกมส์  การเดินเกมส์ของตัวเอง ชิงความได้เปรียบจากจุดเด่นของฮีโร่ตัวใดนั่นเอง




ผู้เล่นสามารถเลือกฮีโร่ใดก็ได้ เพื่อทำหน้าที่ใดๆก็ได้ตามความเหมาะสมของรูปเกมส์
และนี่คือสเน่ห์ของ Dota 2 ครับ
          






ตัวอย่าง Mirana การเลือกฮีโร่ แนวทางในการเล่นแบบคร่าวๆนะครับ

Dota 2 หน้าที่ของ Support




สวัสดีครับเพื่อนๆทุกท่าน



                              เจอกันอีกครั้ง ในบทความนี้ผู้เขียนจะขอพูดถึงหน้าที่ของตำแหน่ง Support นะครับ


                              ตำแหน่ง Support ถือได้ว่า เป็นตำแหน่งที่จะขาดไม่ได้เลย หากเราจะเล่นกันแบบเป็นทีม  ด้วยจุดเด่นของการทำหน้าที่ที่ช่วยทำให้ตัว Carry ของทีม เก็บเลเวล เก็บเงิน ได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น อีกทั้งยังคอยกดดัน ฮีโร่ของฝั่งศัตรูให้เจอความยากลำบากในจุดที่เหล่าตัวซัพพอร์ทนั้นอยู่

                              ปัจจุบัน ตำแหน่ง Support เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญสูงมาก เนื่องจากสไตล์การเดินเกมส์ของผู้เล่นในปัจจุบัน จะไม่รอให้ถึงเวลาที่ Carry ของทีม มีไอเทมที่โหดก่อนแล้วค่อยทำการดันให้จบในทีเดียว  ตัว Support สไตล์ปัจจุบัน จะเน้นไปที่การเดินเกมส์กดดันฮีโร่ฝั่งศัตรูในช่วงต้นเกมส์ จากนั้นก็จะรวมตัวกันดันป้อมและจะพยายามจบเกมส์ให้ได้ในช่วงกลางเกมส์


                               จากสไตล์การเล่นของผู้เล่นปัจจุบันที่เป็นแบบนี้ ผู้เล่นตำแหน่ง Support จึงเป็นปัจจัยหลักของทีมทันที



เรามาดูหน้าที่หลักๆของตำแหน่ง Support กันครับ


                               ในช่วงแรกของเกมส์ ตัว Support จะมีหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับตัว Carry ของทีม เป้าหมายคือให้ Carry ของทีม ออกไอเทมแรกได้ไวที่สุด เพราะ ไอเทมแรกจะเป็นตัวช่วยให้ Carry ของทีมเราฟาร์มได้ไวขึ้นมาก  สิ่งที่เรามักจะเห็นตัวซัพพอร์ทในทัวว์นาเมนท์ทำ มีดังนี้ครับ


1  การกดดันฮีโร่ศัตรูในเลน( Harassment )

                               ตัวซัพพอร์ทส่วนใหญ่จะมีสกิลป่วนฮีโร่ศัตรู  เราก็มักจะเห็นตัว Support ยืนกดดันฮีโร่ศัตรู ให้อยู่ในตำแหน่งที่ไม่สามารถเก็บเงินและเลเวลได้



2  การดึงครีป (Pull Creep)

                               การดึงครีปเป็นสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งในช่วงแรก เพราะจะทำให้ตำแหน่งการชนครีปในเลน เป็นตำแหน่งที่ฮีโร่ทางฝั่งเราได้เปรียบ ซึ่งเทคนิคในการดึงครีปนั้น ทางผู้เขียนจะมากล่าวเพิ่มเติมในบทความต่อๆไปนะครับ



3 การสะสมครีปป่า (Stack Creep)

                               ปกติครีปที่อยู่ในแต่ละจุดในป่าจะมีแค่ฝูงเดียว ซึ่งก็จะให้เงินไม่มากเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับการฟาร์มบนเลน  ดังนั้น การสะสมครีปป่าให้มีหลายๆฝูง จึงเป็นการเร่งอัตราการฟาร์มของฮีโร่ฝั่งเราให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นนะครับ


4 หน้าที่ผู้สนับสนุนไอเทม (Support Item)

                               ในเกมส์ Dota2 มีการแบ่งชนิดไอเทมเป็นหลายแบบ ซึ่งจะมีแบบที่แบ่งกันใช้หรือซื้อให้กันได้อยู่นะครับ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของซัพพอร์ท(อีกแล้ว T^T) ที่ต้องคอยให้การสนับสนุนไอเทมเหล่านี้ให้กับ Carry ในทีม ไอเทมแบ่งกันใช้ได้ เช่น ใบวาร์ป(Town Portal Scroll) , ยามานา(Clarity) , ขวดเลือด(Healing Salve) เป็นต้น


5 หน่วยวอร์ด (Plant Ward and Deward)

                               การปักวอร์ด(Plant Ward) และ การทำลายวอร์ด(Deward)ของฝั่งศัตรู เป็นสิ่งสำคัญมากอีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เราตัดทัศนวิสัยการมองเห็นของศัตรูและทำให้เราเห็นการเคลื่อนไหวของฝั่งศัตรู ก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการเข้าโจมตีหรือป้องกันของฝั่งเราดีขึ้น


6. หน่วยแกงค์ (Ganker)

                              การแกงค์คือการรวมกลุ่มเพื่อไล่ล่าศัตรู ตำแหน่ง Support ที่ดี ควรหาช่องในการแกงค์ในช่วงแรกให้เพื่อนทุกเลนเท่าที่ทำได้ ไอเทมที่นิยมใช้ในการแกงค์ ได้แก่ Smoke of Deceit  เป็นต้นครับ




7. การช่วยป้องกันเพื่อน (Help Support) 

                              นอกเหนือจากการป้องกันฮีโร่ในเลนที่เหล่า Support ต้องรับผิดชอบแล้ว  การช่วยปกป้องชีวิตของเพื่อนในเลนอื่นๆ ก็เป็นสิ่งที่จะขาดไม่ได้เช่นกัน ในสถานการณ์จริงจะเห็นได้ว่า เราไม่สามารถที่จะอยู่เลนเพื่อช่วยเพื่อนทุกเลนได้ เพราะ ถ้าดูจากแผนการเล่นทั่วๆไป ในทีมหนึ่งจะมีตัวซัพพอร์ท 1 - 2 ตัว แต่เลนเลนที่เพื่อนเก็บเลเวลมีถึง 3 เลน เทคนิคง่ายๆที่ผู้เล่นส่วนมากนิยมใช้กัน คือ การพกใบวาร์ป(Town Portal Scroll)ติดตัวไว้เสมอ และเมื่อถึงเหตุการณ์ที่ต้องช่วยเพื่อนก็จะสามารถทำได้ทันท่วงที





                             ทั้งหมดนี้ เป็นหน้าที่คร่าวๆของตำแหน่ง Support ที่ควรมีเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทีมนะครับ เพื่อนๆบางท่านอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจกับบางหน้าที่ ซึ่งทางผู้เขียนจะนำมาอธิบายเพิ่มในบทความต่อๆไปอย่างแน่นอนครับผม






ขอขอบพระคุณผู้อ่านทุกท่าน ที่ได้เสียสละเวลามาเยี่ยมชมบทความนะครับ ผู้เขียนจะพยายามอัพเดทบทความให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วเจอกันบทความหน้านะครับ  สวัสดีครับ ! 




Dota 2 แผนการเล่น 1 - 1 - 3



สวัสดีครับเพื่อนๆทุกท่าน


                           จากบทความที่แล้วผมได้นำเสนอแนวคิดในการแยกประเภทของฮีโร่ ตามลักษณะหน้าที่ไปแล้ว  บทความนี้เราจะมาตอบคำถามคาใจผู้เล่นหลายๆท่านกัน ที่มักจะมีคำถามว่า
                 
                    "    เราควรจะเลือกใช้ฮีโร่ชนิดใดในทีมบ้าง ?   "

                           แน่นอนครับ ขึ้นชื่อว่าเกมส์ Dota2 มันไม่มีอะไรที่ตายตัวแน่แท้อย่างแน่นอน  แต่มันก็มักจะมีส่วนผสมดีๆที่พวกทีมในทัวว์นาเมนท์นิยมเลือกใช้กันครับ


แผนที่ 1 :  1-1-3  (มุมมองเรเดี้ยน) 
                     
                 ปัจจุบันแผนนี้ได้รับความนิยมมากๆ เพราะช่วยให้แครี่ของทีมจะสามารถฟาร์มได้อย่างปลอดภัยขึ้นครับ ลักษณะฮีโร่ที่มักจะใช้ในแผนชุดนี้ ได้แก่

                 เลนบน(Top) หรือ Hard lane มักจะใช้ฮีโร่ Tanky และเป็นฮีโร่ที่ไม่ต้องพึ่งไอเทมมากมายนักและมีสกิลที่รบกวนฝั่งตรงข้ามได้ดี เช่น Tide Hunter , Bristle Back , Clockwerk เป็นต้น  เพราะ  เลนนี้ต้องยอมรับว่าเก็บเลเวลยาก เก็บเงินยิ่งยากครับ  แนวการเล่นหลักๆก็จะเป็นประมาณว่า ช่วงแรกอยู่เลนดูดเลเวลไปก่อน ถ้าเข้าสู่ช่วงกลางเกมส์ก็จะมีสกิลคอยช่วยในการเข้าปะทะกับทีม แล้วค่อยใช้เวลาช่วงกลางเกมส์ฟาร์มเอาไอเทมที่ต้องการอีกที ประมาณนี้ครับ
                   hard lane มักจะเจอการกดดันจากคู่ต่อสู้มากมาย


                 เลนกลาง(Mid) มักจะใช้ฮีโร่ Carry ที่เก่งไวหน่อย เช่น Templar Assasin , Sniper , Viper เป็นต้น  สาเหตุที่คนนิยมใช้ฮีโร่ที่เก่งไวหน่อยก็เพราะต้องคอยกดดันคู่ต่อสู้ในเลน อีกทั้ง ระยะเวลาในการเก็บเงิน เก็บเลเวลหลักๆนั้น จะอยู่ที่ช่วงต้นเกมส์จนถึงกลางเกมส์เท่านั้นเอง อีกยังต้องช่วยเพื่อนในทีมเดินเกมส์ตั้งแต่ช่วงกลางเกมส์ ดังนั้นทีมต่างๆจึงนิยมใช้ Carry เก่งไวโดยที่ไม่ต้องใช้ไอเทมมากมายนัก
เลนกลางเป็นเลนที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวในการช่วงชิงความได้เปรียบของผู้เล่นสูง



                 เล่นล่าง(Bot) หรือ Safe lane มักจะใช้ 2 Support + 1 Carry ในจุดนี้ ผู้เขียนขออธิบายเพิ่มเติมว่า ในเลนนี้ จะมีกลุ่มการทำงานอยู่สองกลุ่ม

Safe lane เลนแห่งความหวังของทีม

                         กลุ่มหนึ่ง จะเป็นกลุ่มของ Carry จะมีหน้าที่ฟาร์มทั้งในเลนและจุดต่างๆเพื่อทำให้ได้ไอเทมที่ต้องการไวที่สุด จุดเด่นของเลนนี้ก็คือ Carry ที่มักจะเลือกมาอยู่ในเลนนี้จะเป็น Carry ที่ต้องใช้ไอเทมค่อนข้างหลายชิ้นถึงจะเก่งได้ชนิดพลิกผลการแพ้ชนะได้ ฮีโร่ที่มักถูกเลือกนำมาใช้ใน safe lane ได้แก่ Mophin , Troll , Spectre  เป็นต้น
                         กลุ่มที่สอง จะเป็นกลุ่มของ Support ทั้ง 2 ตัว ซึ่งมีหน้าที่หลักคือ ช่วยให้ตัว Carry ในเลนนี้ สามารถเก็บเงินได้อย่างสบายใจ และอาจมีหน้าที่คอยสนับสนุนเลนอื่นๆให้ฟาร์มได้ดีขึ้นเท่าที่ทำได้ ซึ่งวิธีการในการเดินเกมส์ของตัวซัพพอร์ท ผู้เขียนจะนำเสนอในบทความต่อไปนะครับ  เรามาดูฮีโร่ซัพพอร์ทที่ทีมต่างๆมักเลือกใช้กันครับ ได้แก่  Rubic-Lion , Lion-Skywraith Mage , Venomancer - Lion เป็นต้น  จะสังเกตได้ว่า ฮีโร่ที่คนนิยมเลือกใช้จะเป็นฮีโร่ที่ไม่ต้องมีไอเทมมาก ขอแค่มีเลเวลในระดับหนึ่ง ก็สามารถกดดันคู่ต่อสู้ได้ครับ



                        ขอขอบพระคุณผู้อ่านทุกท่านครับ ในบทความต่อไปผู้เขียนจะนำเสนอแผนการเล่นในรูปแบบอื่นๆทีละแผน เพื่อง่ายในการอ่านและการทำความเข้าใจของผู้อ่านทุกท่านครับ